จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2561 ระบุว่า โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสาเหตุการตายของคนในประเทศอันดับที่ 10 และมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 2557 มีอัตราการเสียชีวิตแค่ 1.1% แต่ในปี 2561 พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคเลือดสูงขึ้นเป็น 1.7%
ปัจจุบันสเต็มเซลล์ที่ได้จากเลือดสายสะดือได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคเลือดได้หลายชนิด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลูคีเมีย โรคโลหิตจางหรือธาลัสซีเมีย เป็นต้น และปัจจุบันยังได้มีการขยายนำเอาสเต็มเซลล์จากรกไปใช้กับโรคอื่นๆที่สำคัญมากมาย
อนาคตของสเต็มเซลล์กับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
สเต็มเซลล์จากรก คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่มีคุณสมบัติเป็นเซลล์ที่่ยังไม่จำเพาะเจาะจงในการทำหน้าที่ สามารถแบ่งตัวได้และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ที่จำเพาะได้ และในขณะเดียวกันก็ยังคงแบ่งตัวเพื่อยังเป็นเซลล์ต้นกำเนิดต่อไป
ในร่างกายจะมีระบบการทำงานหลายระบบ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ สเต็มเซลล์จากรกสามารถเติบโตไปเพื่อซ่อมแซมแต่ละระบบในร่างกายได้ สเต็มเซลล์ที่เก็บจากเลือดจะเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ซ่อมแซมอยู่ในระบบเลือด ในส่วนสเต็มเซลล์ที่ได้จากรกนั้นจะช่วยในการรักษาเกี่ยวกับระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้น การเก็บสเต็มเซลล์จากเลือดและรกจึงมีประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบันได้มีการทดลองนำสเต็มเซลล์จากรกไปใช้ในการรักษาโรค เช่น โรค stroke และโรคหัวใจขาดเลือด โดยพบว่าสเต็มเซลล์จากรกสามารถซ่อมแซมหลอดเลือดระบบหัวใจ ช่วยลดการอักเสบและซ่อมแซมหลอดเลือดระบบประสาทและสมองได้ ซึ่งเป็นความหวังการรักษาในอนาคต
ก้าวหน้าไปอีกขั้นกับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์จากรกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 6 โดยประชากรไทยมีอัตราการเสียชีวิตถึง 36% ในปี 2561 โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคที่ผิดปกติตั้งแต่เด็ก เป็นความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ปกติเหมือนทั่วไปได้ ปัจจุบันมีการทดลองที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา โดยใช้สเต็มเซลล์จากรกของเด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เข้าไปฉีดให้ตัวเด็กเอง เพื่อที่จะให้เซลล์ในร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ตามปกติ
สเต็มเซลล์ของเด็กจะใช้ในการรักษาโรคในผู้ใหญ่ได้หรือไม่?
เป็นคำถามที่พบกันมากว่า สเต็มเซลล์ที่ได้จากรกและสายสะดือนั้น จะมีเพียงพอที่จะใช้กับพ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดได้หรือไม่ นักวิจัยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาปริมาณสเต็มเซลล์จากรกดังกล่าว ด้วยความพยายามไม่หยุดยั้งของนักวิจัยทำให้ค้นพบเทคนิคการเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์จากรกได้เป็นผลสำเร็จจากการทดลองแล้ว ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “Ex Vivo Expansion” จะทำให้เพิ่มปริมาณสเต็มเซลล์จากรกได้ในปริมาณที่มากขึ้นเพียงพอต่อการรักษาทั้งตัวของเด็กเองและผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นในอนาคตสเต็มเซลล์จากลูกมีโอกาสที่จะช่วยชีวิตพ่อแม่หรือพี่น้องได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
อ้างอิง
1. Barzegar M, Kaur G, Gavins FNE, Wang Y, Boyer CJ, Alexander JS. Potential therapeutic roles of stem cells in ischemia-reperfusion injury. Stem Cell Res. 2019;37:101421
2. Jiang Y, Zhu W, Zhu J, Wu L, Xu G, Liu X. Feasibility of delivering mesenchymal stem cells via catheter to the proximal end of the lesion artery in patients with stroke in the territory of the middle cerebral artery. Cell Transplant. 2013;22(12):2291-2298.
3. Ahn SY, Chang YS, Sung SI, Park WS. Mesenchymal Stem Cells for Severe Intraventricular Hemorrhage in Preterm Infants: Phase I Dose-Escalation Clinical Trial. Stem Cells Transl Med. 2018;7(12):847-856.
4. Ward MR, Abadeh A, Connelly KA. Concise Review: Rational Use of Mesenchymal Stem Cells in the Treatment of Ischemic Heart Disease. Stem Cells Transl Med. 2018;7(7):543-550.
5. Tajer P, Pike-Overzet K, Arias S, Havenga M, Staal FJT. Ex Vivo Expansion of Hematopoietic Stem Cells for Therapeutic Purposes: Lessons from Development and the Niche. Cells. 2019;8(2):169.
6. Bernardo ME, Cometa AM, Pagliara D, et al. Ex vivo expansion of mesenchymal stromal cells. Best Pract Res Clin Haematol. 2011;24(1):73-81.
7. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,สถิติสาธารณสุข 2018 (Public Health Statistic A.D. 2018) , ISSN 0857-3093