แนวทางการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมด้วยเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์

 

จากการศึกษาที่ผ่านมาการนำ MSCs มาใช้รักษาผู้ป่วยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1995 (Lazarus.,1995) โดยใช้ MSCs จากไขกระดูกตัวเองมาใช้ในการฟื้นฟูระบบเลือดหลังผู้ป่วยผ่านการ รักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก หลังจากนั้น การนำเอา MSCs ไปใช้ประโยชน์ถูกประยุกต์ใช้รักษาผู้ป่วย มากขึ้นซึ่งสามารถหาได้จากฐานข้อมูล The Public Clinical Trials Database at http://clinicaltrials.gov (2020) พบว่ามีการใช้ MSCs เพื่อการรักษาในผู้ป่วยในหลากหลายชนิด ของโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อม และมีการทดสอบตั้งแต่ความปลอดภัย (Phase1) ไปจนถึงการเพิ่มจำนวน ผู้ป่วยมากขึ้นเพื่อดูประสิทธิภาพที่เกิด (Phase2) และยืนยันการทดสอบที่ได้ผลกับผู้ป่วยจำนวนมาก (Phase3) ดังแสดงใน รูปภาพที่ 1. จะเห็นได้ว่า โรคทางระบบประสาท โรคทางข้อเข่า และโรคหลอดเลือด หัวใจ กำลังเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการศึกษา ซึ่งเป็นระยะการทดสอบคุณภาพการรักษาใหม่ที่ใช้ MSCs เมื่อ เทียบกับการรักษามาตรฐานแบบเดิม

 

รูปภาพที่ 1. แสดงโรคต่างๆที่มีการนำเอา MSCs มาใช้ในการรักษาในระดับ Clinical Trials (Kabat M et.,al, 2020)

 

 

แหล่งของ MSCs ที่นำไปใช้กับผู้ป่วยมีหลากหลายแหล่ง MSCs จากไขกระดูก (BM) เป็นแหล่งแรก ที่มีการค้นพบ ทำให้มีการนำเอาเซลล์กลุ่มนี้ไปใช้ในการศึกษา ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จึงทำให้ MSCs ถูกค้นพบจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึง MSCs ที่ได้จากรกและสายสะดือ (UC) จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันได้นำ MSCs จากแหล่งนี้เข้ามาศึกษามากขึ้น เนื่องมาจากเหตุผลของความสะดวกในการเก็บตัวอย่างและคัดแยก MSCs ซึ่งสามารถทำได้ง่ายกว่าไขกระดูกเป็นอย่างมาก

 

รูปภาพที่2. แสดง (A.) แหล่งที่มาของ MSCs ที่นำมาใช้ในการรักษาในระดับ clinical trials (B.) ประเภทของ MSCs ที่นำมาใช้ในการรักษาในระดับ clinical trials (Kabat M et.,al, 2020)

 

นอกจากนี้ ในปัจจุบันได้มีการใช้ Allogenic MSCs คือ MSCs จากบุคคลอื่นมาศึกษามากขึ้น เพื่อทดแทนการใช้ Autologous MSCs คือ MSCs จากตนเอง นอกจากเหตุผลที่เกิดปัญหาเมื่อใช้ของตัวเอง ทั้งส่วนการจัดเก็บ เช่น การเจาะไขกระดูก จะเกิดอาการบาดเจ็บและมีอาการแทรกซ้อนได้ง่าย ยังมีในส่วนของคุณภาพของ MSCs ที่พบประสิทธิภาพบางอย่างที่ลดลง (Shariatzadeh M et.,al, 2019) และรวมถึงการเพิ่มจำนวนเซลล์มีข้อจำกัดในเชิงปริมาณที่อาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงทำให้มีการนำ Allogenic MSCs มาใช้มากขึ้นดังแสดงในรูปภาพที่ 2

 

 

อ้างอิง

1. Kabat M, Bobkov I, Kumar S, Grumet M. Trends in mesenchymal stem cell clinical trials 2004-2018: Is efficacy optimal in a narrow dose range? Stem Cells Transl Med. 2020;9(1):17-27.

2. Lazarus HM, Haynesworth SE, Gerson SL, Rosenthal NS, Caplan AI. Ex vivo expansion and subsequent infusion of human bone marrow-derived stromal progenitor cells (mesenchymal progenitor cells): implications for therapeutic use. Bone Marrow Transplant. 1995;16(4):557-64.

3. Shariatzadeh M, Song J, Wilson SL. Correction to: The efficacy of different sources of mesenchymal stem cells for the treatment of knee osteoarthritis. Cell Tissue Res. 2019;378(3):559.